วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เมื่อเราโตขึ้นเราจะเลิกใคร่ครวญหรือพูดถึงแต่ความรักเพียงอย่างเดียว หรือเปล่า?



รุ่นพี่ของผมคนนึงเคยถามคำถามนี้ไว้กับกลุ่มเพื่อนเล่นๆ ถ้าให้ผมตอบ ก็คงต้องตอบว่าเป็นความจริง โดยสามารถอ้างอิงได้จาก สมัยที่ผมถูกเรียกว่าวัยรุ่น(ตอนนี้เรียกไม่ได้นานแล้ว -_-") นั้นมักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการคิดถึงแต่ว่าทำยังไงถึงจะได้ มีสาวๆมาเคียงข้างหรือมองไปทางไหน ก็มักเจอแต่คนที่อยากรู้จะจัก (ฮ่า) มากกว่าการเรียนหนังสือหรือว่ากิจกรรมอื่นๆ เวลาที่อกหักก็มักจะ เพร่ำเพ้อเป็นบ้าเป็นหลังถึงขนาดที่ว่าสามารถแต่งเพลงอกหักได้เป็นอัลบั้ม -_-" อันนี้ไม่แน่ใจว่าวัยรุ่นชายทั่วไปเป็นแบบนี้เหมือนผม หรือเพราะผมเป็นวัยรุ่น(เปลี่ยวo_O)

คริส มาร์ตินและผองเพื่อนก็เช่นกัน การกลับมาคราวนี้ของพวกเค้านั้น มีการเปลี่ยนแปลงตัวเอง ไปพอสมควรหลังจากโดนแฟนเพลงส่วนนึงบ่นว่า อัลบั้มX&Y ไพเราะแต่ชวนเข้าเฝ้าพระอินทร์เกินไป ซิงเกิ้ลแรกที่ปล่อยออกมาให้เรา ได้ดาวน์โหลดฟังก่อน Violet Hill กับดนตรีโฉ่งฉ่าง และเนื้อหาที่แอบพูดถึงสงครามอย่างไม่โจ่งแจ้ง ก็พอเดาได้เล็กน้อยว่า งานนี้ไม่เหมื่อนอัลบั้มที่แล้วแน่ ไล่ไปตั้งแต่ปกอัลบั้มนำมาจากรูปของ Eugène Delacroix จิตรกรในยุคต้นศตวรรษที่ 19 ที่มีชื่อว่า
Liberty Leading the People (La Liberté guidant le peuple) ที่เป็นรูปเขียนถึงการปฏิวัติ ต้านกษัตริย์ในฝรั่งเศส ส่วนชื่ออัลบั้ม Viva la Vida or Death and All His Friends นั้นมาจาก ภาพเขียนชิ้นหนึ่งของจิตรกรหญิงชาวเม็กซิกันที่ชื่อ ฟรีดา คาห์โล ที่แปลว่า ใช้ชีวิตอย่างยืนยาว กับชื่อเพลงปิดท้ายในอัลบั้ม


ดนตรีของอัลบั้มนี้เหมือนนำ X&Y มาต่อยอด โดยการเพิ่มรายละเอียดของเครื่องดนตรีที่พวกเค้า ไม่เคยใช้ลงไป ตั้งแต่เสียง ซินธิไซเซอร์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องสาย เพอร์คัสชั่น และมีการเรียบเรียง
ดนตรีให้ซับซ้อนกว่าเดิม เช่นเพลง 42 ที่ขึ้นต้นมานึกว่างเพลงบัลลาดแบบ Fix You ในอัลบั้ม
ที่แล้ว
แต่พอเข้ากลางเพลงกับกลายเป็นร๊อคกีตาร์แรงๆไปซะได้ หรือการใช้ทริคเพลงซ้อนกันในแทรกเดียว
อย่าง Lovers in Japan/Reign of Love หรืออินโทรในเพลง Life in Technicolor ที่พอเราฟัง
ไปจนจบเพลงสุดท้ายก็จะมีอินโทรแบบเดียวกันขึ้นมาเป็นแทรกซ่อนในเพลง The Escapist


แต่ทั้งหมดนั้นก็ไม่ได้เรียงเพลงซับซ้อนถึงขนาดฟังยากจนเกินไปนัก ยังมีเพลงที่คอรัสถูกออกแบบมา
ให้ร้องตามได้เหมือนเดิม แต่ก็นับว่าเบาบางลงไปพอสมควรเมื่อเทียบกับสองอัลบั้มแรก
ส่วนเนื้อเพลงนั้นทางวงก็เลิกที่จะพูดถึงแต่รักครั้งเก่าหรือใคร่ครวญถึงความรักอันไม่สมหวัง
แบบพร่ำเพื่อ แล้วหันมาพูดถึง ชีวิต ความตาย สงครามและอิสรภาพ ซึ่งถือว่าเนื้อหาของวงได้เติบโตไปตามวัย
เช่น ในเพลง
Viva la Vida ที่มีพูดถึงราชาที่สุญเสียอำนาจไป แต่ก็พอยังมีเพลง
คอรัส เนื้อหาแบบเดิม อันเป็นเอกลักษณ์ของวง เพื่อไม่ให้อัลบั้มจริงจังจนแฟนเก่ารับไม่ได้

ทั้งหลายทั้งปวงนี้น่าจะเป็นผลลัพธ์มาจากการที่ ทางวงเติบโตขึ้น (ก็แน่หล่ะ แต่งงานจนมีลูกตั้งสองคนแล้ว) ซึ่งทางวงก็กล้าหาญที่มาร่วมงานกับ โปรดิวเซอร์ที่ทำงานให้วง U2 อย่าง Brain Eno (ทั้งที่ปกติก็โดนค่อนขอดว่าแค่นี้ก็จะเป็นU2 วงที่สองอยู่แล้ว) แต่กลับยอมรับความจริง ว่าU2 ก็เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจของวง และกล้าตัดสินใจร่วมงานกับ
Brain Eno ผลลัพธ์ที่ออกมาจึง เป็นการยอมรับความจริง และเติบโตขึ้นตามวุฒิภาวะ ไปสู่ทิศทางการทำงานรูปแบบใหม่ๆ (แม้ว่าจะไม่ใหม่ทั้งก็ตาม) แต่ทั้งนี้ ก็เพียงพอต่อการชื่นชม กับการเติบโตที่สุขขุมในครั้งนี้ คล้ายๆกับที่มีรุ่นพี่ของผมบอกไว้
อะนะ ก็คนมันแก่ขึ้นนี่นา T_T

1 ความคิดเห็น:

Lilium-Cruentus กล่าวว่า...

ชุดนี้ผมชอบมากเลยครับ มีชั้นเชิงขึ้นเยอะทั้งภาคดนตรีและเนื้อหา แต่ก็ยังไม่ทิ้งความไพเราะไป (โดยเฉพาะเพลง Lovers in Japan นีติดหนึบอยู่ในใจผมไปแล้วครับ)